วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?


    คือ ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน




ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้


1. กรณีเจ็บป่วย


     1.1. กรณีเจ็บป่วยปกติ

    เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
    หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของคึ่าจ้างจริง สูงสุดแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี

*เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วัน (กรณีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย)


    1.2. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

    ถ้าเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร? กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ

          - ไม่ว่าจะประสบอันตราหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตามรายละเอียดดังนี้

    ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
    ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

*ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน

          - ทั้งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้

    ผู้ป่วยนอก

          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้
               - การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
               - การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
               - การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนักบ้า (เฉพาะเข็มแรก)
               - การตรวจอัลตร้าซาวด์กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง
               - การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
               - การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอด หรือตกเลือดจากการแท้งบุตร
               - ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

    ผู้ป่วยใน

          - ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
          - ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
          - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
          - กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
          - ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
          - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
          - กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, การตรวจคลื่นสมอง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามประกาศ
          - การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์, การส่องกล้อง, การตรวจด้วยการฉีดสี, การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI ตามประกาศ


   1.3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

          - กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ประกันตนจนพ้นภาวะวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ และกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้ว จะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ
          - ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรคกรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางส่วนได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด


   1.4. กรณีทันตกรรม จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง?
  
    กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี *ในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานให้ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาล เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับ
    กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,300 บาท
    2) มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,500 บาท
    กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
    1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
    2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท



2. กรณีคลอดบุตร


ประกันสังคม คลอดบุตร

     ได้สิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ดังนี้

    ผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์ก่ีหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
    ผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท
    ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด



3. กรณีทุพพลภาพ


ประกันสังคม ทุพพลภาพ

   3.1. เงินทดแทนการขาดรายได้

    กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้
    - ไม่อาจทำงานตามปกติ และงานอื่นได้ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
    - ไม่อาจทำงานตามปกติและรายได้ลดลงจากเดิม ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนที่ลดลง แต่ไม่เกินอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
    กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง
    - ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน ตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต

   3.2. ค่าบริการทางการแพทย์

    กรณีเจ็บป่วยปกติ
      สถานพยาบาลของรัฐ
       - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
       - กรณีผู้ป่วยใน เข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากสถานพยาบาลจะเป็นผู้เบิกจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง
    

            สถานพยาบาลเอกชน
            - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
            - กรณีผู่ป่วยใน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

    กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต : ผู้ทุพพลภาพที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ทุพพลภาพจนพ้นวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และกรณีที่ผู้ทุพพลภาพได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้วจะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลของรัฐ
    - มีสิทธิได้รับค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
    - มีสิทธิได้รับค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
    - มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพ
    - ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย


4. กรณีตาย


ประกันสังคม ตาย

ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์ กรณีตาย ดังนี้

    จ่ายสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
    จ่ายสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน


5. กรณีสงเคราะห์บุตร


ประกันสังคม สงเคราะห์บุตร

ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 600 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน

6. กรณีชราภาพ


ประกันสังคม ชราภาพ

เงินบำนาญชราภาพ

    กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

"สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย 20% (+จำนวน % ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)"

เงินบำเหน็จชราภาพ

    กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
    กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
    กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย



"สูตรคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ"
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1-11 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบำนาญชราภาพ : จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงินบำเหน็จชราภาพ : จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

7. กรณีว่างงาน


ประกันสังคม ว่างงาน

   7.1. กรณีถูกเลิกจ้าง

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

   7.2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

   7.3. กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน

"เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติ ตลอดจนภัยอื่นๆ อันเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณสุข และถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน***

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานตามกรณีที่ 2 เกิน 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันทุกครั้งไม่เกิน 90 วัน ***

หมายเหตุ: กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัว ทางระบบอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน


การขอรับประโยชน์ทดแทน


ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทน

    รับเงินด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับเงินแทน
    รับเงินทางธนาณัติ
    รับเงินผ่านธนาคาร 11 แห่ง ได้แก่

          - ธ.กสิกรไทย
          - ธ.กรุงศรีอยุธยา
          - ธ.กรุงเทพ
          - ธ.ไทยพาณิชย์
          - ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
          - ธ.กรุงไทย
          - ธ.ทหารไทยธนชาต
          - ธ.ซีไอเอ็มบีไทย
          - ธ.ออมสิน
          - ธ.ก.ส.


ขอขอบคุณ https://www.sanook.com/money/723543/


ประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ประกันสังคมมาตรา 33
ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเท่าไหร่
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตกงาน
ประกันสังคม มาตรา 33 คุ้มครองอะไรบ้าง

#ประกันสังคมมาตรา33 #ผู้ประกันตนมาตรา33

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการผัดข้าวผัดที่บ้าน ให้เม็ดข้าวร่วน มีผิวเม็ดข้าวเกรียม เนื้อในนิ่ม : ข้าวผัดเบคอน

ข้าวผัดเบคอน เทคนิคการผัดข้าวผัดที่บ้าน ให้เม็ดข้าวร่วน มีผิวเม็ดข้าวเกรียม เนื้อในนิ่ม

เริ่มด้วย ข้าวผัดที่อร่อย เม็ดข้าวเป็นอย่างไร?

ข้าวผัดที่อร่อย  ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เม็ดข้าวเป็นเม็ดสวยงาม
- เม็ดข้าวร่วน ไม่ติดกัน
- ผิวเม็ดข้าวเกรียมนิดๆ หอมกระทะ  เนื้อในเม็ดข้าวนิ่ม ไม่แข็งกระด้าง
- เม็ดข้าวถูกเคลือบด้วยเครื่องปรุงของข้าวผัด

สิ่งสำคัญในการทำข้าวผัด ได้แก่
- ข้าว
- การหุงข้าว
- การเตรียมข้าวสวยเพื่อทำข้าวผัด
- เตาไฟ
- กระทะ
- การผัดข้าวผัด โดยการกระดกกระทะ และ การใช้ตะหลิว

ข้าว
ข้าวสารที่เหมาะในการทำข้าวผัด จะเป็น ข้าวหอมมะลิเก่า เพราะเนื้อข้าวนิ่ม ข้าวเก่าหุงแล้วไม่มียาง ข้าวสวยจะร่วน  ในขณะที่ข้าวเสาไห้เป็นข้าวที่ร่วน ไม่มียาง แต่เนื้อข้าวจะแข็งไป (ความเห็นส่วนตัว)

การหุงข้าว
การหุงข้าวสำหรับทำข้าวผัด  ให้เอาข้าวสารมาซาวน้ำ 2 - 3 ครั้ง จนน้ำใส เพื่อล้างแป้งที่ติดมากับข้าวสารออกให้หมด  ถ้าล้างแป้งออกไม่หมด พอหุงข้าวสุกแป้งจะเหมือนกาวที่ยึดเม็ดข้าวสวยให้เกาะกัน ทำให้เม็ดข้าวสวยมีความร่วนต่ำลง   หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทั่วไป ใช้อัตราส่วนน้ำตามหม้อหุงข้าว  ข้าวสวยที่ได้ออกมา อาจจะแข็งหรือนิ่ม ต้องปรับปริมาณน้ำดู เพราะข้าวสารที่ซื้อมาแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกัน
ถ้าหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวรุ่นคอมพิวเตอร์ ให้เลือกโปรแกรมหุงข้าวซูชิ เพราะจะได้ข้าวที่ร่วนกว่า
* แนะนำให้ใช้หม้อหุงข้าวรุ่นคอมพิวเตอร์ในการหุงข้าว จะได้ข้าวสวยที่อร่อยกว่า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าธรรมดา

การเตรียมข้าวสวยเพื่อทำข้าวผัด
การหุงข้าวสำหรับทำข้าวผัด  ควรจะต้องหุงข้าวไว้ก่อน 1 คืน แล้วเอาข้าวสวยใส่ในภาชนะเปิดทิ้งให้เย็น เอาข้าวสวยแช่ตู้เย็นไว้ 1 คืน ที่ใช้ภาชนะเปิดเพื่อให้น้ำระเหยออกจากเม็ดข้าว เม็ดข้าวจะร่วน  ก่อนทำข้าวผัด เอาน้ำพรมที่ข้าวนิดหน่อย เอาเอามือจุ่มน้ำก่อน ทำการแกะข้าวให้ร่วน ไม่ติดกัน
*การพรมน้ำที่ข้าวสวยทำให้การแกะข้าวให้ร่วนได้สะดวก

เตาไฟ
ความแรงของเตาไฟที่ทำข้าวผัดมีผลต่อการทำข้าวผัดมาก
ในการผัดข้าวให้อร่อย ตามร้านอาหารจะใช้เตาแก๊สที่มีไฟแรงมาก ร้อนจัด ในขณะที่เตาแก๊สทำอาหารที่บ้านมีความแรงไฟต่ำกว่าตามร้านอาหารเยอะ
การที่เตาไฟร้อนจัด ทำให้ความร้อนของกระทะผัดข้าวสูง เวลาที่ทำให้เม็ดข้าวเกรียมจะสั้น
ส่วนเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ยังไม่มีความรู้ เนื่องจากยังไม่เคยใช้แบบจริงจัง

กระทะ
กระทะเหล็ก vs กระทะเทฟลอน
- กระทะเหล็กให้ความร้อนสูงกว่ากระทะเทฟลอน
กระทะเหล็กที่ร้อนจัด ต้องใส่น้ำมันเยอะ จะผัดข้าวได้โดยข้าวไม่ติดกระทะ และเวลาที่เม็ดข้าวสัมผัสผิวกระทะจะสั้น

- กระทะเทฟลอน มีข้อดีที่ทำข้าวผัดโดยที่ข้าวไม่ติดกระทะ แต่มีข้อเสียที่มีความร้อนต่ำกว่ากระทะเหล็ก และผัดให้เม็ดข้าวผิวเกรียมได้ยาก
กระทะเหล็กจะเหมาะกับการทำข้าวผัดมากกว่า เพราะให้ความร้อนสูงกว่ากระทะเทฟลอน

การผัดข้าวผัด โดยการกระดกกระทะ และ การใช้ตะหลิว
การกระดกกระทะในการผัดข้าว ทำให้เม็ดข้าวสวย ในขณะที่การใช้ตะหลิวผัด ตะหลิวจะไปสัมผัสเม็ดข้าวทำให้เม็ดข้าวฉีกขาดได้
ตามร้านอาหารจะใช้วิธีการกระดกกระทะ เพื่อให้เม็ดข้าวทั้งหลายได้รับความร้อนจากผิวกระทะอย่างสม่ำเสมอ  การกระดกกระทะจะทำให้เม็ดข้าวสวยงามไม่เละ 
การผัดข้าวที่บ้านเตาจะไม่ร้อนเหมือนกับตามร้านอาหาร ทำให้เวลาที่เม็ดข้าวเกรียมนานกว่า และส่วนใหญ่จะใช้ตะหลิวในการผัดข้าวแทนการกระดกกระทะ ทำให้ตะหลิวสัมผัสเม็ดข้าว เม็ดข้าวมีแนวโน้มที่จะเละ และต้องผัดหรือกวนข้าวใช้เวลานานด้วยเพราะเตามีความร้อนต่ำ

ตามร้านอาหาร การผัดข้าวจะใช้การกระดกกระทะเพื่อให้เม็ดข้าวสัมผัสผิวกระทะอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เม็ดข้าวสวย ไม่เละ พอใช้กระทะเหล็ก เตาไฟร้อน จะใช้เวลาผัดข้าวสั้น แต่ถ้าผัดข้าวที่เตาไฟตามบ้าน ใช้กระทะเทฟลอน ความร้อนต่ำ ต้องใช้ตะหลิวกวนข้าว เป็นเวลานาน การกวนเยอะๆ ทำให้เม็ดข้าวเลย ไม่สวยงามเหมือนข้าวผัดตามร้านอาหาร

การผัดข้าวผัดเบคอนที่บ้าน
- ใช้ข้าวหอมมะลิเก่าตราไดโนเสาร์ หุงไว้ก่อน 1 คืน
ซาวข้าว 3 ครั้ง จนน้ำใส  หุงด้วยหม้อหุงข้าวคอมพิวเตอร์ โดยใส่น้ำในหม้อแบบหุงข้าวซูชิ
พอข้าวสุก คดข้าวออกจากหม้อใส่ในถาดใบเล็ก เกลี่ยเพื่อให้ข้าวเย็น
เอาข้าวสวยในถาดใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดา โดยไม่มีอะไรปิดข้าว เพื่อให้น้ำในข้าวระเหย
ก่อนผัดข้าว เอาน้ำพรมข้าวนิดหน่อย มือจุ่มน้ำทำการแกะข้าวสวยให้เม็ดข้าวร่วน

- ใช้กระทะเหล็ก (ได้ลองใช้กระทะเทฟลอนแล้ว ผลออกมาผัดข้าวไปแล้วเม็ดข้าวไม่เกรียม)
เริ่มด้วยเอาเบคอนสับไปเจียวก่อน เจียวจนเบคอนกรอบ ตักเบคอนขึ้น
น้ำมันเบคอนติดกระทะเอาไปผัดข้าวต่อ
ใช้ไฟแรง กระทะร้อน เอากระเทียมสับไปผัดกับน้ำมันเบคอน
พอกระเทียมเริ่มเปลี่ยนสี ใส่ข้าวลงไปผัด

กวนข้าวให้เคลือบน้ำมัน แล้วทิ้งไว้ 30 วินาที - 1 นาที (แล้วแต่ความร้อนของเตา) 
ข้าวสวยด้านล่างที่สัมผัสผิวกระทะจะเริ่มเกรียม  ทำการกวนข้าว
แล้วทิ้งไว้ให้เกรียมแบบนี้ ทำหลายครั้ง จนกระทั่งผิวข้าวเกรียมทั้งกระทะ 
ใช้เวลาประมาณ 5 นาที  ปรุงรสด้วยซีอิ้ว ใส่เบคอนลงไปผัด

ตักข้าวผัดขึ้นใส่หม้อพักไว้ก่อน

เอากระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน ใส่ไข่ลงไป ขยี้ไข่
พอไข่สุก 50% ใส่ข้าวที่ผัดไว้ลงไป ผัดให้เข้ากัน

สวัสดี.

บทความโดย คุณ swin @ pantip.com
https://pantip.com/topic/39744384

แจกอักษรพิเศษ ฟอนต์อังกฤษค่ะ

น้องฟ้อนด์

ตัวพิมพ์ใหญ่

𝙰 𝙱 𝙲 𝙳 𝙴 𝙵 𝙶 𝙷 𝙸 𝙹 𝙺 𝙻 𝙼 𝙽 𝙾 𝙿 𝚀 𝚁 𝚂 𝚃 𝚄 𝚅 𝚆 𝚇 𝚈 𝚉
𝔸 𝔹 ℂ 𝔻 𝔼 𝔽 𝔾 ℍ 𝕀 𝕁 𝕂 𝕃 𝕄 ℕ 𝕆 ℙ ℚ ℝ 𝕊 𝕋 𝕌 𝕍 𝕎 𝕏 𝕐 ℤ
𝘈 𝘉 𝘊 𝘋 𝘌 𝘍 𝘎 𝘏 𝘐 𝘑 𝘒 𝘓 𝘔 𝘕 𝘖 𝘗 𝘘 𝘙 𝘚 𝘛 𝘜 𝘝 𝘞 𝘟 𝘠 𝘡
𝘼 𝘽 𝘾 𝘿 𝙀 𝙁 𝙂 𝙃 𝙄 𝙅 𝙆 𝙇 𝙈 𝙉 𝙊 𝙋 𝙌 𝙍 𝙎 𝙏 𝙐 𝙑 𝙒 𝙓 𝙔 𝙕
z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ l ʞ ɾ ᴉ ɥ ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ
𝒜 ℬ 𝒞 𝒟 ℰ ℱ 𝒢 ℋ ℐ 𝒥 𝒦 ℒ ℳ 𝒩 𝒪 𝒫 𝒬 ℛ 𝒮 𝒯 𝒰 𝒱 𝒲 𝒳 𝒴 𝒵
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

ตัวพิมพ์เล็ก

𝚊 𝚋 𝚌 𝚍 𝚎 𝚏 𝚐 𝚑 𝚒 𝚓 𝚔 𝚕 𝚖 𝚗 𝚘 𝚙 𝚚 𝚛 𝚜 𝚝 𝚞 𝚟 𝚠 𝚡 𝚢 𝚣
𝕒 𝕓 𝕔 𝕕 𝕖 𝕗 𝕘 𝕙 𝕚 𝕛 𝕜 𝕝 𝕞 𝕟 𝕠 𝕡 𝕢 𝕣 𝕤 𝕥 𝕦 𝕧 𝕨 𝕩 𝕪 𝕫
𝘢 𝘣 𝘤 𝘥 𝘦 𝘧 𝘨 𝘩 𝘪 𝘫 𝘬 𝘭 𝘮 𝘯 𝘰 𝘱 𝘲 𝘳 𝘴 𝘵 𝘶 𝘷 𝘸 𝘹 𝘺 𝘻
𝙖 𝙗 𝙘 𝙙 𝙚 𝙛 𝙜 𝙝 𝙞 𝙟 𝙠 𝙡 𝙢 𝙣 𝙤 𝙥 𝙦 𝙧 𝙨 𝙩 𝙪 𝙫 𝙬 𝙭 𝙮 𝙯
z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ l ʞ ɾ ᴉ ɥ ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ
𝒶 𝒷 𝒸 𝒹 ℯ 𝒻 ℊ 𝒽 𝒾 𝒿 𝓀 𝓁 𝓂 𝓃 ℴ 𝓅 𝓆 𝓇 𝓈 𝓉 𝓊 𝓋 𝓌 𝓍 𝓎 𝓏
ᴀ ʙ ᴄ ᴅ ᴇ ғ ɢ ʜ ɪ ᴊ ᴋ ʟ ᴍ ɴ ᴏ ᴘ ǫ ʀ s ᴛ ᴜ ᴠ ᴡ x ʏ ᴢ

ใครมีฟอนต์ตัวเลขสวยๆเอามาแลกเปลี่ยนกันนะคะ พอดีต้องการฟอนต์ตัวเลขอยู่ TT

ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาดูค่า ~
by สมาชิกหมายเลข 2895640@pantip.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิธีทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำ ทำเองง่ายๆ สูตรจาก Lab สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วิธีทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำ ทำเองง่ายๆ

สูตร 1 : สูตรพื้นฐาน เพื่อการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ 500 มล.
1 Carbopol 940 (คาร์โบพอล 940) 1.5 กรัม
2 Ethyl alcohol 95% (เอทิล แอลกอฮอล์ 95%) 370 มล.
3 Triethanolamine (ไตรเอทาโนลามีน) 1.5 กรัม
4 น้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) 128 มล.

วิธีการเตรียม
1. ตวงเอทิลแอลกอฮอล์ ผสมกับ น้ำบริสุทธิ์
2. ค่อยๆ โปรย คาร์โบพอล 940 และใช้เครื่องกวนให้กระจายตัว
3. ใส่ ไตรเอทาโนลามีน จะได้เจลแอลกอฮอล์


สูตร 2 : สูตรเพิ่มสารให้มือนุ่มลื่น เพื่อการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ 500 มล.
1 Carbopol 940 (คาร์โบพอล 940) 1.5 กรัม
2 Ethyl alcohol 95% (เอทิล แอลกอฮอล์ 95%) 370 มล.
3 Triethanolamine (ไตรเอทาโนลามีน) 1.5 กรัม
4 น้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) 123 มล.
5 Propylene glycol (โพรไพลีน ไกลคอล) 5 มล.

วิธีการเตรียม
1. ตวงเอทิลแอลกอฮอล์ ผสมกับ น้ำสะอาด และเติมโพรไพลีน ไกลคอล
2. ค่อยๆ โปรย คาร์โบพอล 940 ซึ่งเป็นสารประกอบให้เกิดเจล
(Gel forming agent) และใช้เครื่องกวนให้กระจายตัว (พักทิ้งไว้ 1 คืน)
3. ใส่ ไตรเอทาโนลามีน (สารประกอบให้เกิดเจล) เติมสี/กลิ่น จะได้เจลแอลกอฮอล์


ข้อควรระวัง!
ห้ามใช้ Methyl alcohol (เมทิล แอลกอฮอล์) แทนเอทิลแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
แอลกอฮอล์ จะติดไฟง่าย ต้องระวังการเกิดเปลวไฟ
ในส่วนของน้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) เท่านั้น
ห้ามใช้น้ำบาดาลเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดตะกอน


ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับแหล่งซื้อวัตถุดิบในการทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำนั้นมีจำหน่ายที่ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
และร้านขายเครื่องเคมี
เจลล้างมือไม่ใช้น้ำที่ดีนั้นเมื่อเปิดใช้ต้องมีกลิ่นแอลกอฮอล์
สามารถใช้เจลล้างมือได้บ่อยครั้งตามต้องการ
อายุการเก็บรักษาของเจลล้างมือจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปี นับจากวันที่ผลิต


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ที่มา:
เภสัชกรอรรคชัย ตันตราวงศ์ นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), 2009
   

 

Toyota Camry Brochure แคตตาล็อกรถโตโยต้าแคมรี่ปี 2020

ดูโบรชัวร์รถ Toyota Camry 2020 ออนไลน์

แคตตาล็อกรถโตโยต้า Toyota Camry 2020 Brochure
แคตตาล็อกรถโตโยต้าแคมรี่
ปี 2020 view Toyota Camry Brochure here

- Camry 2.5 HV Premium

- Camry 2.5 HV

- Camry 2.5 G

- Camry 2.0 G

https://www.toyota.co.th/model/camry/download