วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565

เช็คอิน lazada ยังไง เช็คอินเลยจ้า!

  เช็คอินลาซาด้า กดตรงนี้เลยจ้า ►► https://bit.ly/LZDCheck-In

 

เช็คอินลาซาด้า

★ ช่วงนี้มีเพื่อนๆหลายคนถามเกี่ยวกับ Lazada เช็คอินประจำวัน เข้ามา เช่น

- หาจุดเช็คอินบนแอปลาซาด้าไม่เจอ

- หน้า lazada daily rewards เข้าตรงไหน?

- lazada check in ตรงไหน?

- lazada daily rewards อยู่ตรงไหน?

- เช็คอิน lazada ยังไง?

- ปุ่มเช็คอินหาย หาในแอ๊ปไม่เจอ

- กดเข้าหน้าเช็คอินตรงไหนเหรอครับ?

- ปุ่มเช็คอินลาซาด้าหายไปแล้ว

- ทำไมลาซาด้าเช็คอินไม่เตือน?

 

● เพื่อนๆที่เช็คอินในแอป Lazada ต่อเนื่องทุกวัน เพื่อสะสมเงินรางวัลพิเศษ

อาจจะพบปัญหาในบางวัน ที่เจ้าแอป Lazada ก็ไม่แจ้งเตือนให้เราเข้า check in ซะงั้น

ทำให้พลาดโอกาสในการสะสมเงินรางวัลพิเศษ ไปอย่างน่าเสียดาย.


ดังนั้นเราจึงไปหาทางเข้าเช็คอิน lazada มาให้เพื่อนๆ

    เพื่อต่อไปเพื่อนๆจะได้เช็คอินลาซาด้ากันได้สะดวกขึ้นจ้า

 

★ เช็คอินลาซาด้า กดตรงนี้เลยจ้า ►► https://bit.ly/LZDCheck-In

 

*เช็คอินต่อเนื่องทุกวัน สะสมเงินรางวัลทุกวัน

  - ถ้าเพื่อนๆสะสมเงินโบนัสจนครบ 200 บาทแล้ว, เพื่อนๆสามารถถอนเงินรางวัลเข้า Lazada Wallet เพื่อใช้ซื้อสินค้าใน Lazada ได้เลยจ้า.





วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?


    คือ ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน




ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้


1. กรณีเจ็บป่วย


     1.1. กรณีเจ็บป่วยปกติ

    เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
    หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของคึ่าจ้างจริง สูงสุดแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี

*เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วัน (กรณีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย)


    1.2. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

    ถ้าเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร? กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ

          - ไม่ว่าจะประสบอันตราหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตามรายละเอียดดังนี้

    ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
    ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

*ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน

          - ทั้งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้

    ผู้ป่วยนอก

          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้
               - การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
               - การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
               - การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนักบ้า (เฉพาะเข็มแรก)
               - การตรวจอัลตร้าซาวด์กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง
               - การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
               - การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอด หรือตกเลือดจากการแท้งบุตร
               - ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

    ผู้ป่วยใน

          - ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
          - ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
          - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
          - กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
          - ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
          - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
          - กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, การตรวจคลื่นสมอง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามประกาศ
          - การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์, การส่องกล้อง, การตรวจด้วยการฉีดสี, การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI ตามประกาศ


   1.3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

          - กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ประกันตนจนพ้นภาวะวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ และกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้ว จะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ
          - ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรคกรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางส่วนได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด


   1.4. กรณีทันตกรรม จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง?
  
    กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี *ในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานให้ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาล เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับ
    กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,300 บาท
    2) มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,500 บาท
    กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
    1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
    2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท



2. กรณีคลอดบุตร


ประกันสังคม คลอดบุตร

     ได้สิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ดังนี้

    ผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์ก่ีหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
    ผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท
    ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด



3. กรณีทุพพลภาพ


ประกันสังคม ทุพพลภาพ

   3.1. เงินทดแทนการขาดรายได้

    กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้
    - ไม่อาจทำงานตามปกติ และงานอื่นได้ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
    - ไม่อาจทำงานตามปกติและรายได้ลดลงจากเดิม ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนที่ลดลง แต่ไม่เกินอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
    กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง
    - ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน ตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต

   3.2. ค่าบริการทางการแพทย์

    กรณีเจ็บป่วยปกติ
      สถานพยาบาลของรัฐ
       - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
       - กรณีผู้ป่วยใน เข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากสถานพยาบาลจะเป็นผู้เบิกจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง
    

            สถานพยาบาลเอกชน
            - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
            - กรณีผู่ป่วยใน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

    กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต : ผู้ทุพพลภาพที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ทุพพลภาพจนพ้นวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และกรณีที่ผู้ทุพพลภาพได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้วจะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลของรัฐ
    - มีสิทธิได้รับค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
    - มีสิทธิได้รับค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
    - มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพ
    - ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย


4. กรณีตาย


ประกันสังคม ตาย

ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์ กรณีตาย ดังนี้

    จ่ายสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
    จ่ายสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน


5. กรณีสงเคราะห์บุตร


ประกันสังคม สงเคราะห์บุตร

ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 600 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน

6. กรณีชราภาพ


ประกันสังคม ชราภาพ

เงินบำนาญชราภาพ

    กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
    กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

"สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย 20% (+จำนวน % ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)"

เงินบำเหน็จชราภาพ

    กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
    กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
    กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย



"สูตรคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ"
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1-11 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบำนาญชราภาพ : จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงินบำเหน็จชราภาพ : จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

7. กรณีว่างงาน


ประกันสังคม ว่างงาน

   7.1. กรณีถูกเลิกจ้าง

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

   7.2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

   7.3. กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

    ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน

"เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติ ตลอดจนภัยอื่นๆ อันเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณสุข และถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน***

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานตามกรณีที่ 2 เกิน 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันทุกครั้งไม่เกิน 90 วัน ***

หมายเหตุ: กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัว ทางระบบอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน


การขอรับประโยชน์ทดแทน


ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทน

    รับเงินด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับเงินแทน
    รับเงินทางธนาณัติ
    รับเงินผ่านธนาคาร 11 แห่ง ได้แก่

          - ธ.กสิกรไทย
          - ธ.กรุงศรีอยุธยา
          - ธ.กรุงเทพ
          - ธ.ไทยพาณิชย์
          - ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
          - ธ.กรุงไทย
          - ธ.ทหารไทยธนชาต
          - ธ.ซีไอเอ็มบีไทย
          - ธ.ออมสิน
          - ธ.ก.ส.


ขอขอบคุณ https://www.sanook.com/money/723543/


ประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ประกันสังคมมาตรา 33
ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเท่าไหร่
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตกงาน
ประกันสังคม มาตรา 33 คุ้มครองอะไรบ้าง

#ประกันสังคมมาตรา33 #ผู้ประกันตนมาตรา33

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการผัดข้าวผัดที่บ้าน ให้เม็ดข้าวร่วน มีผิวเม็ดข้าวเกรียม เนื้อในนิ่ม : ข้าวผัดเบคอน

ข้าวผัดเบคอน เทคนิคการผัดข้าวผัดที่บ้าน ให้เม็ดข้าวร่วน มีผิวเม็ดข้าวเกรียม เนื้อในนิ่ม

เริ่มด้วย ข้าวผัดที่อร่อย เม็ดข้าวเป็นอย่างไร?

ข้าวผัดที่อร่อย  ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เม็ดข้าวเป็นเม็ดสวยงาม
- เม็ดข้าวร่วน ไม่ติดกัน
- ผิวเม็ดข้าวเกรียมนิดๆ หอมกระทะ  เนื้อในเม็ดข้าวนิ่ม ไม่แข็งกระด้าง
- เม็ดข้าวถูกเคลือบด้วยเครื่องปรุงของข้าวผัด

สิ่งสำคัญในการทำข้าวผัด ได้แก่
- ข้าว
- การหุงข้าว
- การเตรียมข้าวสวยเพื่อทำข้าวผัด
- เตาไฟ
- กระทะ
- การผัดข้าวผัด โดยการกระดกกระทะ และ การใช้ตะหลิว

ข้าว
ข้าวสารที่เหมาะในการทำข้าวผัด จะเป็น ข้าวหอมมะลิเก่า เพราะเนื้อข้าวนิ่ม ข้าวเก่าหุงแล้วไม่มียาง ข้าวสวยจะร่วน  ในขณะที่ข้าวเสาไห้เป็นข้าวที่ร่วน ไม่มียาง แต่เนื้อข้าวจะแข็งไป (ความเห็นส่วนตัว)

การหุงข้าว
การหุงข้าวสำหรับทำข้าวผัด  ให้เอาข้าวสารมาซาวน้ำ 2 - 3 ครั้ง จนน้ำใส เพื่อล้างแป้งที่ติดมากับข้าวสารออกให้หมด  ถ้าล้างแป้งออกไม่หมด พอหุงข้าวสุกแป้งจะเหมือนกาวที่ยึดเม็ดข้าวสวยให้เกาะกัน ทำให้เม็ดข้าวสวยมีความร่วนต่ำลง   หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทั่วไป ใช้อัตราส่วนน้ำตามหม้อหุงข้าว  ข้าวสวยที่ได้ออกมา อาจจะแข็งหรือนิ่ม ต้องปรับปริมาณน้ำดู เพราะข้าวสารที่ซื้อมาแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกัน
ถ้าหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวรุ่นคอมพิวเตอร์ ให้เลือกโปรแกรมหุงข้าวซูชิ เพราะจะได้ข้าวที่ร่วนกว่า
* แนะนำให้ใช้หม้อหุงข้าวรุ่นคอมพิวเตอร์ในการหุงข้าว จะได้ข้าวสวยที่อร่อยกว่า หม้อหุงข้าวไฟฟ้าธรรมดา

การเตรียมข้าวสวยเพื่อทำข้าวผัด
การหุงข้าวสำหรับทำข้าวผัด  ควรจะต้องหุงข้าวไว้ก่อน 1 คืน แล้วเอาข้าวสวยใส่ในภาชนะเปิดทิ้งให้เย็น เอาข้าวสวยแช่ตู้เย็นไว้ 1 คืน ที่ใช้ภาชนะเปิดเพื่อให้น้ำระเหยออกจากเม็ดข้าว เม็ดข้าวจะร่วน  ก่อนทำข้าวผัด เอาน้ำพรมที่ข้าวนิดหน่อย เอาเอามือจุ่มน้ำก่อน ทำการแกะข้าวให้ร่วน ไม่ติดกัน
*การพรมน้ำที่ข้าวสวยทำให้การแกะข้าวให้ร่วนได้สะดวก

เตาไฟ
ความแรงของเตาไฟที่ทำข้าวผัดมีผลต่อการทำข้าวผัดมาก
ในการผัดข้าวให้อร่อย ตามร้านอาหารจะใช้เตาแก๊สที่มีไฟแรงมาก ร้อนจัด ในขณะที่เตาแก๊สทำอาหารที่บ้านมีความแรงไฟต่ำกว่าตามร้านอาหารเยอะ
การที่เตาไฟร้อนจัด ทำให้ความร้อนของกระทะผัดข้าวสูง เวลาที่ทำให้เม็ดข้าวเกรียมจะสั้น
ส่วนเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ยังไม่มีความรู้ เนื่องจากยังไม่เคยใช้แบบจริงจัง

กระทะ
กระทะเหล็ก vs กระทะเทฟลอน
- กระทะเหล็กให้ความร้อนสูงกว่ากระทะเทฟลอน
กระทะเหล็กที่ร้อนจัด ต้องใส่น้ำมันเยอะ จะผัดข้าวได้โดยข้าวไม่ติดกระทะ และเวลาที่เม็ดข้าวสัมผัสผิวกระทะจะสั้น

- กระทะเทฟลอน มีข้อดีที่ทำข้าวผัดโดยที่ข้าวไม่ติดกระทะ แต่มีข้อเสียที่มีความร้อนต่ำกว่ากระทะเหล็ก และผัดให้เม็ดข้าวผิวเกรียมได้ยาก
กระทะเหล็กจะเหมาะกับการทำข้าวผัดมากกว่า เพราะให้ความร้อนสูงกว่ากระทะเทฟลอน

การผัดข้าวผัด โดยการกระดกกระทะ และ การใช้ตะหลิว
การกระดกกระทะในการผัดข้าว ทำให้เม็ดข้าวสวย ในขณะที่การใช้ตะหลิวผัด ตะหลิวจะไปสัมผัสเม็ดข้าวทำให้เม็ดข้าวฉีกขาดได้
ตามร้านอาหารจะใช้วิธีการกระดกกระทะ เพื่อให้เม็ดข้าวทั้งหลายได้รับความร้อนจากผิวกระทะอย่างสม่ำเสมอ  การกระดกกระทะจะทำให้เม็ดข้าวสวยงามไม่เละ 
การผัดข้าวที่บ้านเตาจะไม่ร้อนเหมือนกับตามร้านอาหาร ทำให้เวลาที่เม็ดข้าวเกรียมนานกว่า และส่วนใหญ่จะใช้ตะหลิวในการผัดข้าวแทนการกระดกกระทะ ทำให้ตะหลิวสัมผัสเม็ดข้าว เม็ดข้าวมีแนวโน้มที่จะเละ และต้องผัดหรือกวนข้าวใช้เวลานานด้วยเพราะเตามีความร้อนต่ำ

ตามร้านอาหาร การผัดข้าวจะใช้การกระดกกระทะเพื่อให้เม็ดข้าวสัมผัสผิวกระทะอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เม็ดข้าวสวย ไม่เละ พอใช้กระทะเหล็ก เตาไฟร้อน จะใช้เวลาผัดข้าวสั้น แต่ถ้าผัดข้าวที่เตาไฟตามบ้าน ใช้กระทะเทฟลอน ความร้อนต่ำ ต้องใช้ตะหลิวกวนข้าว เป็นเวลานาน การกวนเยอะๆ ทำให้เม็ดข้าวเลย ไม่สวยงามเหมือนข้าวผัดตามร้านอาหาร

การผัดข้าวผัดเบคอนที่บ้าน
- ใช้ข้าวหอมมะลิเก่าตราไดโนเสาร์ หุงไว้ก่อน 1 คืน
ซาวข้าว 3 ครั้ง จนน้ำใส  หุงด้วยหม้อหุงข้าวคอมพิวเตอร์ โดยใส่น้ำในหม้อแบบหุงข้าวซูชิ
พอข้าวสุก คดข้าวออกจากหม้อใส่ในถาดใบเล็ก เกลี่ยเพื่อให้ข้าวเย็น
เอาข้าวสวยในถาดใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดา โดยไม่มีอะไรปิดข้าว เพื่อให้น้ำในข้าวระเหย
ก่อนผัดข้าว เอาน้ำพรมข้าวนิดหน่อย มือจุ่มน้ำทำการแกะข้าวสวยให้เม็ดข้าวร่วน

- ใช้กระทะเหล็ก (ได้ลองใช้กระทะเทฟลอนแล้ว ผลออกมาผัดข้าวไปแล้วเม็ดข้าวไม่เกรียม)
เริ่มด้วยเอาเบคอนสับไปเจียวก่อน เจียวจนเบคอนกรอบ ตักเบคอนขึ้น
น้ำมันเบคอนติดกระทะเอาไปผัดข้าวต่อ
ใช้ไฟแรง กระทะร้อน เอากระเทียมสับไปผัดกับน้ำมันเบคอน
พอกระเทียมเริ่มเปลี่ยนสี ใส่ข้าวลงไปผัด

กวนข้าวให้เคลือบน้ำมัน แล้วทิ้งไว้ 30 วินาที - 1 นาที (แล้วแต่ความร้อนของเตา) 
ข้าวสวยด้านล่างที่สัมผัสผิวกระทะจะเริ่มเกรียม  ทำการกวนข้าว
แล้วทิ้งไว้ให้เกรียมแบบนี้ ทำหลายครั้ง จนกระทั่งผิวข้าวเกรียมทั้งกระทะ 
ใช้เวลาประมาณ 5 นาที  ปรุงรสด้วยซีอิ้ว ใส่เบคอนลงไปผัด

ตักข้าวผัดขึ้นใส่หม้อพักไว้ก่อน

เอากระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน ใส่ไข่ลงไป ขยี้ไข่
พอไข่สุก 50% ใส่ข้าวที่ผัดไว้ลงไป ผัดให้เข้ากัน

สวัสดี.

บทความโดย คุณ swin @ pantip.com
https://pantip.com/topic/39744384

แจกอักษรพิเศษ ฟอนต์อังกฤษค่ะ

น้องฟ้อนด์

ตัวพิมพ์ใหญ่

𝙰 𝙱 𝙲 𝙳 𝙴 𝙵 𝙶 𝙷 𝙸 𝙹 𝙺 𝙻 𝙼 𝙽 𝙾 𝙿 𝚀 𝚁 𝚂 𝚃 𝚄 𝚅 𝚆 𝚇 𝚈 𝚉
𝔸 𝔹 ℂ 𝔻 𝔼 𝔽 𝔾 ℍ 𝕀 𝕁 𝕂 𝕃 𝕄 ℕ 𝕆 ℙ ℚ ℝ 𝕊 𝕋 𝕌 𝕍 𝕎 𝕏 𝕐 ℤ
𝘈 𝘉 𝘊 𝘋 𝘌 𝘍 𝘎 𝘏 𝘐 𝘑 𝘒 𝘓 𝘔 𝘕 𝘖 𝘗 𝘘 𝘙 𝘚 𝘛 𝘜 𝘝 𝘞 𝘟 𝘠 𝘡
𝘼 𝘽 𝘾 𝘿 𝙀 𝙁 𝙂 𝙃 𝙄 𝙅 𝙆 𝙇 𝙈 𝙉 𝙊 𝙋 𝙌 𝙍 𝙎 𝙏 𝙐 𝙑 𝙒 𝙓 𝙔 𝙕
z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ l ʞ ɾ ᴉ ɥ ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ
𝒜 ℬ 𝒞 𝒟 ℰ ℱ 𝒢 ℋ ℐ 𝒥 𝒦 ℒ ℳ 𝒩 𝒪 𝒫 𝒬 ℛ 𝒮 𝒯 𝒰 𝒱 𝒲 𝒳 𝒴 𝒵
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

ตัวพิมพ์เล็ก

𝚊 𝚋 𝚌 𝚍 𝚎 𝚏 𝚐 𝚑 𝚒 𝚓 𝚔 𝚕 𝚖 𝚗 𝚘 𝚙 𝚚 𝚛 𝚜 𝚝 𝚞 𝚟 𝚠 𝚡 𝚢 𝚣
𝕒 𝕓 𝕔 𝕕 𝕖 𝕗 𝕘 𝕙 𝕚 𝕛 𝕜 𝕝 𝕞 𝕟 𝕠 𝕡 𝕢 𝕣 𝕤 𝕥 𝕦 𝕧 𝕨 𝕩 𝕪 𝕫
𝘢 𝘣 𝘤 𝘥 𝘦 𝘧 𝘨 𝘩 𝘪 𝘫 𝘬 𝘭 𝘮 𝘯 𝘰 𝘱 𝘲 𝘳 𝘴 𝘵 𝘶 𝘷 𝘸 𝘹 𝘺 𝘻
𝙖 𝙗 𝙘 𝙙 𝙚 𝙛 𝙜 𝙝 𝙞 𝙟 𝙠 𝙡 𝙢 𝙣 𝙤 𝙥 𝙦 𝙧 𝙨 𝙩 𝙪 𝙫 𝙬 𝙭 𝙮 𝙯
z ʎ x ʍ ʌ n ʇ s ɹ b d o u ɯ l ʞ ɾ ᴉ ɥ ƃ ɟ ǝ p ɔ q ɐ
𝒶 𝒷 𝒸 𝒹 ℯ 𝒻 ℊ 𝒽 𝒾 𝒿 𝓀 𝓁 𝓂 𝓃 ℴ 𝓅 𝓆 𝓇 𝓈 𝓉 𝓊 𝓋 𝓌 𝓍 𝓎 𝓏
ᴀ ʙ ᴄ ᴅ ᴇ ғ ɢ ʜ ɪ ᴊ ᴋ ʟ ᴍ ɴ ᴏ ᴘ ǫ ʀ s ᴛ ᴜ ᴠ ᴡ x ʏ ᴢ

ใครมีฟอนต์ตัวเลขสวยๆเอามาแลกเปลี่ยนกันนะคะ พอดีต้องการฟอนต์ตัวเลขอยู่ TT

ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาดูค่า ~
by สมาชิกหมายเลข 2895640@pantip.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิธีทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำ ทำเองง่ายๆ สูตรจาก Lab สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วิธีทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำ ทำเองง่ายๆ

สูตร 1 : สูตรพื้นฐาน เพื่อการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ 500 มล.
1 Carbopol 940 (คาร์โบพอล 940) 1.5 กรัม
2 Ethyl alcohol 95% (เอทิล แอลกอฮอล์ 95%) 370 มล.
3 Triethanolamine (ไตรเอทาโนลามีน) 1.5 กรัม
4 น้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) 128 มล.

วิธีการเตรียม
1. ตวงเอทิลแอลกอฮอล์ ผสมกับ น้ำบริสุทธิ์
2. ค่อยๆ โปรย คาร์โบพอล 940 และใช้เครื่องกวนให้กระจายตัว
3. ใส่ ไตรเอทาโนลามีน จะได้เจลแอลกอฮอล์


สูตร 2 : สูตรเพิ่มสารให้มือนุ่มลื่น เพื่อการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ 500 มล.
1 Carbopol 940 (คาร์โบพอล 940) 1.5 กรัม
2 Ethyl alcohol 95% (เอทิล แอลกอฮอล์ 95%) 370 มล.
3 Triethanolamine (ไตรเอทาโนลามีน) 1.5 กรัม
4 น้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) 123 มล.
5 Propylene glycol (โพรไพลีน ไกลคอล) 5 มล.

วิธีการเตรียม
1. ตวงเอทิลแอลกอฮอล์ ผสมกับ น้ำสะอาด และเติมโพรไพลีน ไกลคอล
2. ค่อยๆ โปรย คาร์โบพอล 940 ซึ่งเป็นสารประกอบให้เกิดเจล
(Gel forming agent) และใช้เครื่องกวนให้กระจายตัว (พักทิ้งไว้ 1 คืน)
3. ใส่ ไตรเอทาโนลามีน (สารประกอบให้เกิดเจล) เติมสี/กลิ่น จะได้เจลแอลกอฮอล์


ข้อควรระวัง!
ห้ามใช้ Methyl alcohol (เมทิล แอลกอฮอล์) แทนเอทิลแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
แอลกอฮอล์ จะติดไฟง่าย ต้องระวังการเกิดเปลวไฟ
ในส่วนของน้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำบริสุทธิ์ (น้ำ RO หรือ น้ำกลั่น) เท่านั้น
ห้ามใช้น้ำบาดาลเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดตะกอน


ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับแหล่งซื้อวัตถุดิบในการทำเจลล้างมือไม่ใช้น้ำนั้นมีจำหน่ายที่ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
และร้านขายเครื่องเคมี
เจลล้างมือไม่ใช้น้ำที่ดีนั้นเมื่อเปิดใช้ต้องมีกลิ่นแอลกอฮอล์
สามารถใช้เจลล้างมือได้บ่อยครั้งตามต้องการ
อายุการเก็บรักษาของเจลล้างมือจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปี นับจากวันที่ผลิต


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ที่มา:
เภสัชกรอรรคชัย ตันตราวงศ์ นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), 2009
   

 

Toyota Camry Brochure แคตตาล็อกรถโตโยต้าแคมรี่ปี 2020

ดูโบรชัวร์รถ Toyota Camry 2020 ออนไลน์

แคตตาล็อกรถโตโยต้า Toyota Camry 2020 Brochure
แคตตาล็อกรถโตโยต้าแคมรี่
ปี 2020 view Toyota Camry Brochure here

- Camry 2.5 HV Premium

- Camry 2.5 HV

- Camry 2.5 G

- Camry 2.0 G

https://www.toyota.co.th/model/camry/download

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์

17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ Harddisk

ความเชื่อที่ 1 การฟอร์แมต HDD บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD สั้นลง
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมต HDD ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น การฟอร์แมต HDD
ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะ ทำให้ HDD ต้องแบกรับภาระหนัก หัวอ่านของ HDD จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้อายุ
การใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD อื่นๆ เลย

ความเชื่อที่ 2 การฟอร์แมต HDD จะทำให้มีข้อมูล วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด bad sector ได้
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD เนื่องจาก HDD เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้องมากับการฟอร์แมต

ความเชื่อที่ 3 การฟอร์แมต HDD จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของ
ความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD

ความเชื่อที่ 4 การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง
ข้อ เท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็ก เตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลในการใช้
งานจริง ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

ความเชื่อที่ 5 ถ้า HDD ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น
ข้อ เท็จจริง : ถ้า HDD ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้
เราได้พบ เห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

ความเชื่อที่ 6 การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้ อายุการใช้งานของ HDD สั้นลง
ข้อ เท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานของ HDD ลดน้อยลงไป HDD จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะ
ที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม

ความเชื่อที่ 7 พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย
ข้อ เท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความ เสี่ยงต่อแผ่นดิสก์
ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS มากกว่า

ความ เชื่อที่ 8 ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน อายุการใช้งานของ HDD เรื่อย ๆ และทำให้ HDD ตายลงอย่างช้า ๆ
ข้อ เท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำให้ HDD
ตาย ในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือพิการ

ความ เชื่อที่ 9 ถ้า HDD มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่าระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไฟที่พอสำหรับการทำงาน ได้ มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง หมุนช้าลง
ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD ให้เห็นอย่างแน่นอน การหมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงของ HDD นั้น เป็นปกติที่จะทำการ
วัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใช้งานแต่ละครั้ง

ความเชื่อที่ 10 เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน
ข้อ เท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD

ความเชื่อที่ 11 เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้ อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป
ข้อ เท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้นก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลว เมื่อมีการใช้งานมากเกินไป สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ
Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่านไปตามตำแหน่งที่ต้องการ

ความเชื่อที่ 12 การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว
ข้อ เท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงาน
บ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการ ต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่า
เข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้มอเตอร์ดังว่ามี อาการเสื่อมแต่อย่างใด

ความเชื่อที่ 13 ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข้อมูลเท่านั้น แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD ไม่มีกิจกรรม (idle)
ข้อ เท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงใน ช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน

ความเชื่อที่ 14 การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ได้
ข้อ เท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง Startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้วส่วนการรักษาความเร็วของ การหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา
หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์ หมุนลดลงในช่วง Idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้น
ที่ตัวมอเตอร์

ความเชื่อที่ 15 การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย
ข้อ เท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ

ความเชื่อที่ 16 เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (Visual) (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์) และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD
ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (Visual) ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรับการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหายทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือการ
เสื่อมลง ดังนั้นจึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได้

ความเชื่อที่ 17 เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD
ข้อ เท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเซ็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพื้นที่ว่างสำรองบน HDD อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำรองบน HDD ด้วย อีกทั้งพื้นที่
สำรองบน HDD นั้นมีจำนวนจำกัด สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องบางอย่างของ HDD แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น
รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสีย หาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง ดังนั้นถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่าง
มั่นคง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD
ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

Credit : Quick PC ฉบับที่ 166